พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ และพ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มรองผู้ประสบภัย
 
พรบ.รถยนต์ พรบ.รถจักรยานยนต์ ประกันภัย 3 พลัส รถมอเตอร์ไซต์ ราคาถูก ต่อภาษี (ตรอ.) แห่งเดียวครบวงจร 

พรบ.รถยนต์ คุ้มรองผู้ประสบภัย

ความหมายและประเภทของการประกันภัย พ.ร.บ.รถยนต์

การประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ (พ.ร.บ.รถยนต์)
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

กฏหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับการขนส่งทางบกจะต้องมีการประกันภัยตาม พ.ร.บ. นี้ หากไม่ทำจะมีความผิดมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และหากทำแล้วแต่ไม่ติดเครื่องหมายไว้ที่รถให้เห็นชัดเจนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) นี้ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุรถยนต์ ทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย รวมไปถึงทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้น ในกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต


ทำไมกฎหมายต้องบังคับให้ทำประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์

  การที่รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัย อย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ที่ได้รับบาดเจ็บ/ เสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีกรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต
เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล / สถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ในการรับรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย เพราะเหตุประสบภัยจากรถ
ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือนร้อน แก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว


รถประเภทใดที่ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ.
รถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ได้แก่รถทุกชนิดทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร ที่เจ้าของมีไว้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ ไม่ว่ารถ
 ดังกล่าวจะเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร รถบรรทุก หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ
ดังนั้น การที่มีรถบางประเภท กรมการขนส่งทางบกไม่รับจดทะเบียน แต่หากเข้าข่ายว่ารถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นแล้วก็จัดเป็นรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.


ใครมีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถ / โทษการไม่ทำประกันภัย
ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถ ได้แก่ เจ้าของรถผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ และผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศ
การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการทำประกันภัยรถ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำหนดให้ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

 

ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.  2553

 

 

1. จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น

ความคุ้มครอง

    1.1 กรณีบาดเจ็บ ในวงเงินไม่เกิน

15,000

บาท/คน

    1.2 กรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวรหรือเสียชีวิต ในวงเงินไม่เกิน

35,000

บาท/คน

2. จำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย

ความคุ้มครอง

    2.1 กรณีความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัยในวงเงินไม่เกิน

50,000

บาท/คน

    2.2 กรณีบาดเจ็บ/เสียชีวิต ในวงเงินไม่เกิน

200,000

บาท/คน

    2.3 ชดเชยกรณีเข้ารักษาพยาบาลไม่เกิน 20 วัน

200

บาท/วัน

 
อัตราค่าเบี้ย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์
 

รถจักรยานยนต์ (มอเตอร์ไซด์)

ขนาดเครื่องยนต์

ราคา พรบ.รถจักรยานยนต์

ไม่เกิน 75 CC

161.57

เกิน 75 CC ถึง 125 CC

323.14

เกิน 125 CC ถึง 150 CC

430.14

เกิน 150 CC

645.21



แนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ประกันภัยเอเชีย 3 พลัส รถจักรยานยนต์ (รถมอเตอร์ไซต์)
 

ประกันภัย 3 พลัส รถจักรยานยนต์ (รถมอเตอร์ไซต์)

ความคุ้มครองผู้ทำประกันภัย

บุคคลภายนอก

ราคาเบี้ยประกัน

เสียหายต่อครั้ง

ส่วนแรก

อุบัติเหตุบุคคล

ไม่เกิน

1 แสน/ครั้ง

รักษา

พยาบาล

ต่อครั้ง

ประกัน

ผู้ขับขี่

ต่อครั้ง

บาดเจ็บเสีย

ชีวิตไม่เกิน

10 ล้าน/ครั้ง

ทรัพย์สินบุคคล

ภายนอก

ราคา

ปกติ

ราคา

พิเศษ

ผ่อนชำระ

3 งวด

10,000

-

50,000

-

100,000

300,000

600,000

1,699

1,590

-






 
เงื่อนไขและความคุ้มครอง
1) ซ่อมรถให้ท่านกรณีชน ในวงเงิน 10,000 บาท / ครั้ง
2) รับผิดชอบทรัพย์สิน คู่กรณี 600,000 บาท / ครั้ง
3) บาดเจ็บ / เสียชีวิต คนภายนอก 300,000 บาท / คน และ 10,000,000 บาท /ครั้ง
4) อุบัติเหตุต่อผู้ขับขี่ 1 คน และผู้โดยสาร 1 คน คนละ 50,000 บาท / ครั้ง
5) การประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญา 100,000 บาท/ครั้ง
6) รับรถไม่จำกัดยี่ห้อ รุ่น ปี  ทั้งรับจ้างและส่วนบุคคล
7) หากเป็นฝ่ายผิด ไม่ต้องเสียค่าซ่อมรถส่วนแรก 2,000 บาท

 
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้