วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุและการเบิกค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.

Last updated: 6 พ.ย. 2551  |  115859 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุและการเบิกค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.

วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
 การเบิกค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.
ความเสียหายเบื้องต้นสามารถเบิกได้ภายใน 7 วัน นับจากวันที่ร้องขอต่อบริษัทฯ โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิดจะได้รับเงินจากบริษัท ประกันภัย
 ทำอย่างไรเมื่อประสบภัยจากรถ
ทันทีที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถ หรือเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ขอให้รีบผู้ที่ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ใกล้และสะดวกที่สุด เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว และไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายโดยแจ้งว่าเป็นผู้บาดเจ็บโดยอุบัติเหตุจากรถควรตรวจดูว่ารถคันที่ก่อให้เกิดเหตุ มีการประกันภัยหรือไม่ ประกันภัยกับบริษัทอะไร เลขที่เท่าใดเพื่อที่จะแจ้งกับโรงพยาบาลและบริษัทประกันภัยได้ถูกต้อง
 การพิสูจน์ความรับผิดตามกฎหมาย
                 กรณีที่ได้รับบาดเจ็บ คุ้มครองสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท
                 กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง คุ้มครองสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
                 ผู้ขับขี่รถประกันที่เป็นฝ่ายผิดรับ 15,000 บาท เท่านั้น เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น
 การขอรับค่าเสียหาย ผู้ประสบภัยจากรถ หรือทายาท มีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายได้จาก
          บริษัทประกันภัย โดยผู้ประสบภัยอยู่ในรถคันใด จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทที่รับประกันภัยรถคันนั้น แต่หากรถ
2 คัน ไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลภายนอก เช่น คนข้ามถนน กรณีนี้บริษัทที่รับประกันภัยรถทั้งสองคัน จะร่วมกันเฉลี่ยชดใช้ความเสียหายเบื้องต้นสำหรับค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น จะได้รับภายหลังจากที่มีการพิสูจน์ความถูกผิดเรียบร้อยแล้ว
           กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย จ่ายเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น 
 หลักฐานการขอรับค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
 ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล   สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน   สำเนากรมธรรม์ประกันภัย   สำเนาใบมรณะบัตร (กรณีเสียชีวิต)
 สำเนาบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ   สำเนาบัตรประตัวของทายาท (กรณีเสียชีวิต) ผู้ประสบภัย / ทายาท ต้องยื่นคำร้องภายใน 180 วัน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้